Banner_Aboutus

 คณะกรรมการบริษัท

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 คณะกรรมการของบริษัท มีจำนวน 15 ท่าน ประกอบด้วย

- กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร   11 คน        คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 73.33 ของกรรมการทั้งหมด

- กรรมการที่เป็นอิสระ           5 คน        คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 33.33 ของกรรมการทั้งหมด

- กรรมการที่เป็นผู้บริหาร       4 คน         คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.66 ของกรรมการทั้งหมด

- กรรมการที่เป็นผู้หญิง         3 คน          คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.00 ของกรรมการทั้งหมด

- กรรมการที่เป็นผู้ชาย          12 คน         คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 80.00 ของกรรมการทั้งหมด

                คณะกรรมการของบริษัท ประกอบด้วยกรรมการที่มีคุณสมบัติหลากหลายทั้งในด้านทักษะประสบการณ์แต่ละท่านมีคุณธรรม จริยธรรม ความเป็นอิสระ ความสามารถเฉพาะด้านที่เป็นประโยชน์กับบริษัท สามารถดูแลผลประโยชน์โดยรวมให้ผู้ถือหุ้นได้ นอกจากนี้กรรมการบริษัททุกท่านมีความเข้าใจถึงหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะการดำเนินธุรกิจของบริษัท โดยได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวังรอบคอบ มีการปรับปรุงความรู้ให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลาและได้อุทิศเวลาอย่างเพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างเต็มที่

                คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดคุณสมบัติของกรรมการอิสระ ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

คณะกรรมการบริษัท  ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 ประกอบด้วย

เลขที่

        ชื่อ – สกุล

           ตำแหน่ง

1

นายขันธ์ชัย วิจักขณะ           

ประธานกรรมการและกรรมการอิสระ

2

นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

3

นายประทีป เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

4

ดร.ประมวล เลี่ยวไพรัตน์    

กรรมการ

5

นายประหยัด  เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

6

นางอรพิน  เลี่ยวไพรัตน์      

กรรมการ

7

นายทยุติ  ศรียุกต์สิริ

กรรมการ

8

นางสาวมาลินี เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

9

นายสุพจน์  สิงห์เสน่ห์

ประธานกรรมการตรวจสอบ และกรรมการอิสระ

10

นายพิเศษ  เอี่ยมสกุลรัตน์

กรรมการตรวจสอบ และกรรมการอิสระ

11

นายทวิช  เตชะนาวากุล

กรรมการตรวจสอบ และกรรมการอิสระ

12

นายภากร  เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

13

นายพรพล สุวรรณมาศ

กรรมการตรวจสอบ และกรรมการอิสระ

14

นางสาวธัญญารัตน์ เอี่ยมโสภณา

กรรมการ

15

ดร.วิรัช ฉัตรดรงค์

กรรมการ

     

ทั้งนี้  กรรมการทุกคนของบริษัทได้เข้ารับการอบรมหลักสูตรของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทยที่เกี่ยวกับกรรมการอย่างน้อย 1 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตร Directors Certification Program (DCP) หรือ หลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP)

 

อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท

  1. ปฏิบัติหน้าที่โดยใช้ความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ให้เป็นไปตามกฎหมายวัตถุประสงค์และข้อบังคับด้วยความระมัดระวังเพื่อรักษาผลประโยชน์ของบริษัท และรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น
  2. พิจารณานโยบาย วิสัยทัศน์ แผนงาน และกลยุทธ์ที่สำคัญเกี่ยวกับทิศทางและนโยบายของบริษัท รวมทั้งจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ และกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามแผนงานที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ติดตามผลการดำเนินงานของบริษัทและความคืบหน้าที่สำคัญด้านต่างๆ
  4. กำหนดเงินปันผลระหว่างกาลให้แก่ผู้ถือหุ้น
  5. จัดให้มีระบบบัญชี การรายงานทางการเงินและการสอบบัญชีที่ถูกต้อง โปร่งใส ทันต่อเวลา และเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป
  6. ดูแลระบบการควบคุมภายใน กำกับการตรวจสอบภายในและการตรวจสอบภายนอก ให้ทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิผล รวมทั้งดูแลให้มีการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม
  7. จัดให้มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมถึงการพัฒนาระบบการบริหารความเสี่ยง และดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทุกกลุ่มอย่างเป็นธรรม รวมถึงดูแลในเรื่องการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัทและสาธารณชนอย่างเหมาะสม
  8. ดูแลและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์ รวมถึงรายการที่เกี่ยวโยงกันที่อาจเกิดขึ้นให้เป็นไปตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
  9. พิจารณาสรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่กรรมการบริษัท
  10. พิจารณาความจำเป็นและความเหมาะสมในการกำหนดค่าตอบแทนให้กับกรรมการบริษัท
  11. พิจารณากลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แผนการดำเนินงานประจำปี และเป้าหมายและตัวชี้วัดความสำเร็จ (Key Performance Indicator : KPI)  ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ทั้งนี้ การดำเนินการของคณะกรรมการบริษัท ที่ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น

  1. การเข้าทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือ การได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ที่สำคัญของกลุ่มบริษัท หรือ การดำเนินการอื่นใด ตามที่กฎหมายและคณะกรรมการตลาดทุนประกาศกำหนด
  2. การขายหรือโอนกิจการของบริษัททั้งหมดหรือบางส่วนที่สำคัญให้แก่บุคคลอื่น
  3. การแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริณห์สนธิ หรือ ข้อบังคับบริษัท
  4. การเพิ่ม หรือ ลดทุนจดทะเบียนของบริษัท
  5. การเลิกบริษัท หรือ การควบรวมกิจการบริษัท กับบริษัทอื่น
  6. การออกหุ้นกู้ของบริษัท