ร่วมสร้างคุณค่าและยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนและสังคม ให้เติบโตอย่างยั่งยืน
|
- ปรับปรุงกระบวนการผลิตของโรงปูนซิเมนต์ให้สามารถใช้เชื้อเพลิงขยะ แทนถ่านหินได้ 15.33% โดยให้บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) รับซื้อขยะจากผู้ผลิตท้องถิ่นซึ่งทำหน้าที่คัดแยกขยะ เพื่อช่วยลดปริมาณขยะชุมชน ส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพในระดับชุมชน ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม เพิ่มการจ้างงาน เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยดำเนินการรับซื้อจากชุมชนกว่า 16 จังหวัด ใกล้เคียงโรงงาน
- ดำเนินงานด้านชุมชนสัมพันธ์ (Community Relations) บริษัท มีโรงงานผลิตตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนต่างๆ บริษัท มีนโยบายเชิงรุกให้ทุกหน่วยผลิตให้การช่วยเหลือสนับสนุนด้านสุขอนามัยและลดผลกระทบจากการแพร่ระบาด โดยไม่ต้องรอให้ชุมชนร้องขอ โดยได้ให้การสนับสนุนชุมชนรอบข้างและสังคมที่สำคัญ ดังนี้
(1) เสริมสร้างชุมชนให้มีสุขภาพดี ออกบริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ในโครงการสุขภาพดีกับทีพีไอ โพลีน เพื่อเฝ้าระวังโรคภัยไข้เจ็บ บริการตรวจสุขภาพ ให้ความรู้ด้านสุขภาพ ประโยชน์ของการตรวจปอด ณ ชุมชนที่อยู่รอบข้างในเขต อ.แก่งคอย อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี
(2) ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นคือ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในชุมชน โดยในกรณีที่พนักงานของบริษัท อาศัยอยู่ในชุมชนที่มีการติดเชื้อ บริษัท ได้กำหนดมาตรการตอบสนอง เช่น สนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ให้กับชุมชมใกล้เคียง หน่วยงานภาครัฐ และโรงพยาบาลในพื้นที่ จ.สระบุรี
(3) สนับสนุนป้ายประชาสัมพันธ์ป้องกันไวรัส โควิด-19 เพื่อประชาสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสาร รวมถึงมีมาตรการ เพื่อป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่เชื้อไวรัส โควิด-19 ตลอดจนแนะนำข้อปฏิบัติการใช้พื้นที่ในตลาดหรือพื้นที่สาธารณะให้แก่ชุมชนเจริญพร อ.แก่งคอย จ.สระบุรี
(4) ร่วมสนับสนุนโครงการปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัย โดยร่วมกับกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอแก่งคอย ดำเนินการช่วยเหลือประชาชน ซ่อม/สร้างบ้านให้กับผู้ด้วยโอกาส ผู้พิการ ผู้เจ็บป่วยเรื้อรัง ที่ขาดแคลนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ที่ว่าการอำเภอแก่งคอย จ.สระบุรี ฯลฯ
- ดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในระดับองค์กร (Corporate CSR)
- จากผลการสำรวจความพึงพอใจของชุมชนในปี 2566 พบว่ากิจกรรม CSR ของกลุ่มบริษัท ที่ชุมชนรู้จักและพึงพอใจมากได้แก่ โครงการทุนการศึกษา โดยกลุ่มทีพีไอโพลีน ได้ดำเนินโครงการโอกาสทางการศึกษาให้กับเยาวชนที่เรียนดี ประพฤติดี แต่ขาดทุนทรัพย์ เพื่อแบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง โดยมอบทุนการศึกษาต่อเนื่องตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับปริญญาตรี เริ่มตั้งแต่ปี 2554 โดยมอบทุนให้แก่เด็กนักเรียนในชุมชนเขตพื้นที่ที่ติดกับโรงงานจังหวัดสระบุรี และเมื่อเรียนจบก็รับเข้ามาทำงานในบริษัท เป็นการสร้างความผูกพันที่แน่นแฟ้นกับชุมชนในพื้นที่เสมือนหนึ่งเป็นครอบครัวเดียวกัน
- สนับสนุนโครงการเกษตรปลอดสารเคมีเพื่ออาหารกลางวัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
- เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนบ้านซับบอนมีความรู้และมีทักษะด้านการเกษตรผักปลอดสารเคมี
- เพื่อให้มีแหล่งเรียนรู้ด้านการปลูกพืชผักแบบเกษตรปลอดสารเคมีในโรงเรียนของชุมชน
- เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนบ้านซับบอนได้รับการบริโภค พร้อมส่งเสริมโภชนาการที่ดี
- เพื่อเสริมสร้างรายได้ให้กับนักเรียนโรงเรียนบ้านซับบอนในการนำผักที่เหลือจากการนำไปประกอบอาหารมาจำหน่ายให้แก่พนักงานของบริษัท
|
งานด้านชุมชนและสังคม (Corporate Social Responsibility)
การดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรแบ่งออกเป็น 2 ด้านหลัก ๆ คือ ด้านชุมชนสัมพันธ์ (Community Relations ) และด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในระดับองค์กร (Corporate CSR) โดยในปี 2567 ผ่านมา กลุ่มบริษัททีพีไอโพลีนได้สนับสนุนงบประมาณ ผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์รักษ์สุขภาพในเครือทีพีไอโพลีน เป็นจำนวนเงิน 28,444,751.14 บาท ให้แก่ชุมชนและสังคมทุกด้าน โดยได้ดำเนินงานทั้งสองด้านควบคู่กันไปซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
ด้านชุมชนสัมพันธ์ (Community Relations) [413-2]
ทีพีไอโพลีนมีโรงงานผลิตตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ บริษัทจึงมีนโยบายเชิงรุกให้ทุกหน่วยผลิตให้การช่วยเหลือสนับสนุนด้านสุขอนามัยและลดผลกระทบจากการแพร่ระบาด โดยไม่ต้องรอให้ชุมชนร้องขอ โดยได้ให้การสนับสนุนชุมชนรอบข้างและสังคมที่สำคัญ ดังนี้
- ออกบริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ในโครงการ สุขภาพดีกับทีพีไอ เพื่อเฝ้าระวังโรคภัยไข้เจ็บบริการตรวจสุขภาพ ให้ความรู้ด้านสุขภาพ ณ ชุมชนที่อยู่รอบข้างในเขต อ.แก่งคอย อ.มวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี
- จัดกิจกรรมการบริจาคโลหิต โดยผู้บริหาร พนักงานในเครือทีพีไอ โพลีนและผู้รับเหมา ร่วมบริจาคโลหิตจำนวนกว่า 240,000 ซีซี
- โครงการปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียวประจำปี 2567 จำนวน 2,000 ต้น ณ โรงงานปูนซีเมนต์ทีพีไอ จ.สระบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพื้นที่ สีเขียวในบริเวณโรงงาน
- โครงการเกษตรปลอดสารเคมี เพื่ออาหารกลางวัน ประจำปี 2567 ของโรงเรียนบ้านซับบอน จ.สระบุรี) เพื่อให้มีแหล่งเรียนรู้ด้านการปลูกพืชผักแบบเกษตรปลอดสารเคมีในโรงเรียนของชุมชน เป็นแผนงานที่มีความสอดคล้องกับธุรกิจหรือขีดความสามารถขององค์กร ใช้ความสามารถและศักยภาพของพนักงานที่มีความรู้การทำเกษตรปลอดสารเคมี และการทำบัญชี รวมทั้งผู้ชำนาญการใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากบริษัทในฝ่ายสำนักงานผู้บริหาร และควบคุมคุณภาพแผนกวิจัยและพัฒนา
ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคม
- นักเรียนสามารถนำผลผลิตมาจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติม
- โรงเรียนมีแหล่งอาหารที่ปลอดภัยสำหรับอาหารกลางวัน ลดค่าใช้จ่ายด้านอาหาร
- บริษัทสามารถใช้โครงการนี้เป็นกรณีศึกษาในการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์กรกับชุมชน
- โรงเรียนมีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรียเฉลี่ย 1,200 บาท/การเก็บเกี่ยวผลผลิต และนักเรียนสามารถนำผลผลิตมาจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติม
- มีรายการอาหารจากผลผลิตผักปลอดสารเคมี เป็นอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านซับบอน ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 ครั้งและจัดกิจกรรมส่งเสริมโภชนาการ อย่างน้อย 1 ครั้ง
- นักเรียนมีสุขภาพที่ดีจากการรับประทานอาหารปลอดสารเคมีและสามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดให้กับรุ่น และครอบครัวได้ อีกทั้งเพื่อและการทำบัญชี รวมทั้งผู้ชำนาญการใช้ปุ๋ยอินทรียจากบริษัท
ประโยชน์เชิงปริมาณหรือมูลค่าหรือผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ที่บริษัทได้รับจากการดำเนินงานตามโครงการที่ช่วยแก้ไขปัญหาสังคม
- แผนงานที่ดำเนินการสอดคล้องกับเป้าหมาย SDG 8 Decent Work and Economic Growth ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องครอบคลุมและยั่งยืนการจ้างงานที่มีคุณค่า
- รายได้: บริษัทอาจได้รับรายได้เพิ่มเติมจากการขายปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้ในโครงการให้กับเกษตรกรในชุมชนเป็นการเพิ่มยอดขายในชุมชนในอนาคต
- กำไร: ลดต้นทุนด้านวัตถุดิบโดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตเอง
- ค่าใช้จ่ายที่ลดลง: ลดค่าใช้จ่ายด้านการพัฒนาโครงการเพื่อความยั่งยืน เนื่องจากใช้ทรัพยากรภายในองค์กร
- ระดับความเสี่ยงที่ลดลง: บริษัทสามารถใช้โครงการนี้เป็นกรณีศึกษาในการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์กรกับชุมชน ลดความเสี่ยงด้านภาพลักษณ์องค์กรและสร้างฐานลูกค้าที่เชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ของบริษัท
ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในระดับองค์กร (Corporate CSR)
การมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน (Community involvement and development)
โดยในปี 2567 กลุ่มบริษัททีพีไอ โพลีน รวมพลังสนับสนุนการช่วยเหลือสังคมและชุมชนอย่างต่อเนื่อง สรุปได้ ดังนี้
- โรงงานปูนซีเมนต์สามารถนำขยะชุมชนจำนวนประมาณ 12% นำมาใช้ทดแทนถ่านหิน
- โครงการทุนการศึกษา โดยกลุ่มทีพีไอโพลีน ได้ดำเนินโครงการโอกาสทางการศึกษาให้กับเยาวชนที่เรียนดี ประพฤติดี แต่ขาดทุนทรัพย์ โดยมอบทุนการศึกษาต่อเนื่องตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับปริญญาตรี เริ่มตั้งแต่ปี 2554 เมื่อเรียนจบก็รับเข้ามาทำงานในบริษัท เป็นการสร้างความผูกพันที่แน่นแฟ้นกับชุมชนในพื้นที่เสมือนหนึ่งเป็นครอบครัวเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีการมอบทุนการศึกษาปีละ 295,000 บาท จำนวน 6 โรงเรียน ตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาตอนต้น ต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 31 แล้ว
- ทีพีไอ โพลีนกรุ๊ป ร่วมกับมูลนิธิสิ่งแวดล้อมเพื่อชีวิต บริจาครถเข็นนั่งแบบพับได้ จำนวน 263 คัน และรถเข็นเปลนอนเคลื่อนย้ายผู้ป่วย จำนวน 100 เตียงให้กับ 23 โรงพยาบาล ในภาคเหนือ
- บริจาคผ้าห่มกันหนาวประจำปี 2567 จำนวน 20,000 ผืน ทางภาคเหนือ มอบผ่านมูลนิธิกองทุนเพื่อสังคมไทย เพื่อมอบให้กับผู้ป่วยและผู้ประสบภัยหนาว
- บริจาคผลิตภัณฑ์ปูนซีมเมนต์ทีพีไอ จำนวน 317 ตัน,คอนกรีตแห้งทีพีไอ จำนวน 18 คิว, สีนาโน ซูเปอร์ อาร์เมอร์ ทีพีไอ, กระเบื้องทีพีไอ, บล็อกมวลเบา, ผลิตภัณฑ์ทดแทนไม้และบอร์ดทีพีไอ ฯลฯ ในการปรับปรุง ซ่อมแซม อาคารเรียน หลังคา ทาสีอาคาร พื้นถนนทางเดินเข้าโรงเรียน, พื้นสนามเด็กเล่น จำนวน 24 โรงเรียนทั่วประเทศ เพื่อซ่อมแซมถนนภายในโรงเรียน [203-1]
- บริจาคผลิตภัณฑ์ปูนซีเมนต์ทีพีไอ จำนวน 95.5 ตัน, คอนกรีตแห้งทีพีไอ จำนวน 250 คิว, ผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์ซีเมนต์, สีนาโนซูเปอร์อาร์เมอร์ทีพีไอ และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เพื่อร่วมซ่อมแซม ปรับปรุงอาคารให้กับหน่วยงานราชการต่าง ๆ รวมถึง เรือนจำกลางคลองเปรม, เรือนจำจังหวัดสกลนคร,จังหวัดชัยนาท มอบผ่านมูลนิธิยังมีเรา เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมจังหวัดเชียงราย และ มูลนิธิเด็กโสสะแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์
ร่วมบริจาคผลิตภัณฑ์ปูนซีเมนต์ทีพีไอ จำนวน 679.15 ตัน, คอนกรีตผสมเสร็จทีพีไอ 3,153 ลบ.ม, ผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์ซีเมนต์, สีนาโนซูเปอร์อาร์เมอร์ทีพีไอ และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ให้กับวัดจำนวน 17 วัด ทั่วประเทศ ร่วมก่อสร้างพุทธสถานและพระมหาธาตุเจดีย์เพื่อเป็นศาสนสถานในพระพุทธศาสนา วัดมหาธาตุวชิรมงคล จ.กระบี่, วัดพระคริสตเจ้าทรงกลับคืนพระชนม์ได้ทำโครงการเพื่อสร้างวัดหลังใหม่ ฯลฯ
|
- ดำเนินการสานสัมพันธ์กับชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อรับฟังความคิดเห็น ความคาดหวัง และข้อเสนอแนะ และนำมาปรับปรุงการดำเนินงานของบริษัท รวมถึงบริษัทในเครือ ตลอดจนขยายผลของการพัฒนาชุมชนและสังคมให้มีประสิทธิภาพ พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี ส่งเสริมให้ชุมชนและสังคมเติบโตได้อย่างยั่งยืน - บริษัทมีแนวทางดำเนินการเพื่อสร้างความสัมพันธ์และดูแลชุมชนอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ 1 . ส่งเสริมการจ้างพนักงานจากชุมชนโดยรอบ และจ้างแรงงานชุมชน เพื่อสนับสนุนให้คนในชุมชนมีรายได้เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท 2. สนับสนุนกิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน เช่น ช่วยอนุรักษ์และปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะในพื้นที่ที่การดำเนินการขององค์กรส่งผลกระทบ สนับสนุนโครงการเกษตรปลอดสารเคมี เพื่ออาหารกลางวัน อย่างต่อเนื่องทุกปี ของโรงเรียนบ้านซับบอน จ.สระบุรี เพื่อให้มีแหล่งเรียนรู้ด้านการปลูกพืชผักแบบเกษตรปลอดสารเคมีในโรงเรียนของชุมชน ออกบริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ตรวจสุขภาพคนในชุมชน 3. การมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหรือสาธารณูปโภคในพื้นที่ เช่นร่วมสนับสนุนโครงการปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัย โดยร่วมกับกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอแก่งคอย ดำเนินการช่วยเหลือประชาชน ซ่อมแซมและสร้างบ้านให้กับผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้เจ็บป่วยเรื้อรัง ที่ขาดแคลนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ที่ว่าการอำเภอแก่งคอย จ.สระบุรี 4. การเปิดช่องทางให้ชุมชนสามารถสื่อสารและเสนอแนะความคิดเห็นต่อบริษัท มีการเปิดเผยขอมูลข่าวสารและผลการดำเนินงานของบริษัทอย่างถูกต้องและทันต่อเหตุการณ์ผ่านสื่อโพลีนนิวส์ และเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนให้กับชุมชนการดำเนินการร่วมกับคณะกรรมการชุมชน |