Banner_Aboutus
You are here:Home/การพัฒนาที่ยั่งยืน/สังคม/ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน/ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน [3-3]

            บริษัท ตระหนักถึงความสำคัญ มีความมุ่งมั่นและจริงจังต่อการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย โดยให้ความสำคัญกับระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจ ยึดถือและปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการทำงานอย่างเคร่งครัด มีความมุ่งมั่นปรับปรุงและป้องกันอันตรายที่มีอยู่ทั้งหมด รวมถึงการบาดเจ็บและเจ็บป่วย อันเนื่องมาจากการทำงาน เพื่อให้พนักงาน คู่ค้า ผู้รับเหมา และผู้มีส่วนได้เสียที่มีความเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในพื้นที่ในบริษัท และพื้นที่ปฏิบัติงานทุกแห่ง ตลอดจนการประเมินความเสี่ยงจากการทำงานในทุกกระบวนการดำเนินธุรกิจ

            นอกจากนี้ บริษัท ยังให้ความสำคัญในการปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดวัฒนธรรมแห่งความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อป้องกันและลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นกับชีวิต ทรัพย์สิน รวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับชุมชนโดยรอบและสิ่งแวดล้อม

 

 

เป้าหมาย

การบริหารจัดการ

ผลการดำเนินงาน
ที่สำคัญ ในปี
2566

แนวทางสำหรับปรับปรุงการดำเนินงานในอนาคต

  • เป็นองค์กรที่ปราศจากอุบัติเหตุ และการบาดเจ็บ (Zero Accident)
  1. จำนวนผู้บาดเจ็บถึงขั้นเสียชีวิตจากการทำงาน เป็นศูนย์
  2. อัตราของการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับงานที่มีผลกระทบสูง เป็นศูนย์
  3. อัตราการเจ็บป่วยจากโรคจากการทำงาน เป็นศูนย์
  • กำหนดนโยบายด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม สำหรับดูแลความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานให้กับผู้ปฏิบัติงาน ผู้รับเหมา และผู้รับเหมาช่วง รวมถึงชุมชนและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการดำเนินงานของบริษัท รวมทั้งจัดทำคู่มือความปลอดภัยในการปฏิบัติงานและกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามคู่มือและขั้นตอนการปฏิบัติงานให้เกิดความปลอดภัย มีการรายงานและสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขและระวังป้องกันการเกิดอุบัติเหตุซ้ำ โดยมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของพนักงานทุกระดับเกี่ยวกับการทำงานด้านความปลอดภัย ซึ่งพนักงานสามารถปฏิเสธงานที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยและต้องทำการลดความเสี่ยงก่อนการปฏิบัติงานตามข้อกำหนดของมาตรฐานระบบความปลอดภัยอาชีวอนามัย ISO45001:2018 [403-1] [403-2] [403-7]
  • กำหนดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างตัวแทนฝ่ายบริหารและตัวแทนฝ่ายลูกจ้าง ประกอบด้วยผู้แทนจากพนักงานระดับปฏิบัติการไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของคณะกรรมการทั้งหมด โดยตัวแทนพนักงานระดับปฏิบัติการมาจากการเลือกตั้งแยกตามสายงาน ซึ่งกำหนดให้มีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อเป็นเวทีในการรับข้อมูลจากพนักงานแต่ละสายงานผ่านตัวแทน และแจ้งข่าวสารผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิ เช่น ทาง E:mail และบอร์ดประชาสัมพันธ์ ทาง Application Line พร้อมติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานและแผนการดำเนินงานในอนาคต เป็นต้น [403-4]
  • มีบริการและสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ เช่น การรักษาพยาบาลเบื้องต้นและรักษากรณีมีเหตุฉุกเฉินที่ห้องพยาบาลของบริษัท โดยจัดให้มีพยาบาลประจำและแพทย์ประจำทุกวันทำการให้กับพนักงานและผู้รับเหมาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และบริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่และวัคซีนโควิด-19 ให้กับพนักงานของบริษัท เป็นต้น อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับสุขภาพของบุคคลรอบโรงงานโดยมีการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่สัญจรเพื่อตรวจสุขภาพให้กับประชาชน [403-6]
  • จัดให้มีการอบรมด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยให้กับพนักงานและผู้รับเหมาทุกคนก่อนเริ่มทำงาน โดยมีทั้งหมด 12 หลักสูตร ได้แก่ (1) ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างใหม่ (2) ความปลอดภัยในการทำงานขับรถฟอร์คลิฟท์ (3) ทบทวนความปลอดภัยในการทำงานที่อับอากาศ (4) การดับเพลิงขั้นต้น (5) คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนมัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) (6) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับบริหาร (7) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับ หัวหน้างาน (8) ทบทวนผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น (อยู่กับที่) (9) ผู้บังคับปั้นจั่นเคลื่อนที่ (10) โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม (11) การปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น (อยู่กับที่)  และ (12) การฟื้นคืนชีพเบื้องต้น (CPR) และการใช้งานเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ  [403-5]
  • จัดให้มีแผนงานการตอบสนองต่อสภาวะฉุกเฉิน ตลอดจนการกำหนดให้มีการซ้อมแผนการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินเป็นประจำทุกปี เช่น กรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้ สารเคมีรั่วไหล ระเบิด กัมมันตภาพรังสีรั่วไหล และจัดให้มีการอบรม การผจญเพลิงขั้นสูง การระงับเหตุสารเคมีรั่วไหล การอบรม ด้านการบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นต้น [403-5]
  • บริษัท ได้มีการนำกิจกรรม Total Preventive Maintenance เพื่อปรับปรุงและเพิ่มผลผลิต โดยมีการจัดตั้งกลุ่มคนทำงานที่เกี่ยวข้องกันเป็น Small Group Activity เพื่อปรึกษาหารืระดมความคิด และเสนอแนวทางในการปรับกรุงเครื่องจักรและวิธีการขั้นตอนการทำงานต่างๆ เพื่อลดการสูญเสีย เพิ่มผลผลิตโดยในปี 2566 สามารถลดค่าใช้จ่ายได้รวม 54,536,658.28 บาท
  • -    มีการชี้บ่งประเด็นอันตรายตลอดจนประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งเป็นไปตามนโยบายการบริหารจัดการความเสี่ยงและสอดคล้องตามระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ISO 45001:2018) โดยให้ผู้ปฏิบัติงานซึ่งเป็นเจ้าของความเสี่ยงทำการวิเคราะห์ลักษณะการทำงานของตนเองและผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น บุคคลภายนอก และผู้รับเหมา ในทุกกระบวนการทำงาน เพื่อชี้บ่งอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน และนำมาประเมินโอกาสและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เพื่อจัดลำดับความสำคัญในการบริหารการจัดการความเสี่ยง โดยเริ่มตั้งแต่การกำจัดความเสี่ยง (Elimination) การแทนที่ (Substitution) การควบคุมทางวิศวกรรม (Engineering Control) การบริหารจัดการ (Management Control) ใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) จนถึงงานที่มีความเสี่ยงระดับยอมรับได้ ตลอดจนให้มีการกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เกิดความปลอดภัย และติดตามการดำเนินการบริหารการจัดการความเสี่ยงให้เป็นไปตามแผนงานและเป้าหมาย [403-1] [403-2]
  • มีการเตรียมความพร้อมในการตอบสนองการทำงาน โดยจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคลสำหรับพนักงานที่ใช้ในการปฏิบัติงาน และอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยอื่น ตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อป้องกันการบาดเจ็บและอุบัติเหตุจากการทำงาน ซึ่งครอบคลุมถึงการเตรียมความพร้อมในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน รวมถึงการบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ [403-4]
  • มีการควบคุมสภาพแวดล้อมในการทำงานโดยให้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคล เพื่อป้องกันการบาดเจ็บและการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน มีการตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างสม่ำเสมอตามที่กฎหมายกำหนด เช่น การตรวจวัดคุณภาพอากาศ การตรวจวัดระดับเสียง ความเข้มของแสงสว่าง เป็นต้น [403-2] [403-4]
  • จัดให้มีห้องพยาบาลโดยมีพยาบาลและแพทย์ประจำเพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเจ็บป่วย การปฐมพยาบาลกรณีได้รับบาดเจ็บแก่พนักงานและผู้รับเหมา รวมถึงเฝ้าระวังความเสี่ยงด้านสุขภาพของพนักงาน มีการตรวจสุขภาพพนักงานตั้งแต่เริ่มเข้าทำงาน การตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงที่ต้องปฏิบัติงาน เช่น การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน และการตรวจสมรรถภาพปอด การตรวจคลื่นหัวใจ (EKG) กรณีทำงานในที่อับอากาศ เป็นต้น การตรวจสุขภาพประจำปี ทั้งการตรวจสุขภาพทั่วไปและตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงด้านอาชีวอนามัย โดยมีแพทย์อาชีวเวชศาสตร์และนักอาชีวอนามัยของบริษัท ร่วมกันกำหนดรายการตรวจสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานจากปัจจัยภายในและภายนอกสถานที่ทำงาน หากพนักงานมีผลตรวจสุขภาพผิดปกติจะต้องเข้าพบแพทย์และรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล (OPD) ให้กับพนักงาน บิดา มารดา คู่สมรส และบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย [403-3]
  • กำกับดูแลการปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงาน บุคคลภายนอกและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ปฏิบัติงานให้ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และข้อบังคับด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด [403-1]
  • มีการอบรมความรู้เบื้องต้น ก่อนเข้าปฏิบัติงานสำหรับแรงงานของผู้รับเหมา หรือผู้รับเหมาช่วง  มีการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย ให้กับ ผู้รับเหมา / ผู้รับเหมาช่วง โดยมีคนงานผ่านการอบรม และเข้ามาทำงาน ในปี 2566  แล้ว จำนวน 3,302 คน
  • สื่อสารนโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ปลูกฝังจิตสำนึกและสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่มีความปลอดภัย พัฒนาทักษะความรู้และจัดกิจกรรมในด้านการส่งเสริมสุขภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างต่อเนื่อง [403-4]
  • บริษัท ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการกำหนดหลักสูตรการฝึกอบรมด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย การป้องกันและระงับอัคคีภัยที่จำเป็นสำหรับพนักงานและผู้รับเหมา ที่เหมาะสมกับตำแหน่งงาน ประเภทของงานที่ต้องปฏิบัติ หรือกิจกรรมที่มีความเสี่ยง เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจในสิ่งที่อาจเป็นอันตราย และก่อให้เกิดอุบัติเหตุ รู้จักวิธีการป้องกันและควบคุมอันตรายในขณะปฏิบัติงาน และมาตรการ ปฏิบัติหน้าที่  ที่ได้รับมอบหมายได้ด้วยความปลอดภัย โดยกำหนดให้มีการประเมินผลทันที และจัดเก็บประวัติการฝึกอบรม
  • อัตราการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการทำงานเป็นศูนย์
  • อัตราของการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับงานที่มีผลกระทบสูงเป็นศูนย์
  • อัตราความถี่ของการบาดเจ็บ (Injury Frequency Rate: IFR) เท่ากับ 0.536 ซึ่งลดลง 0.117 เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่ผ่านมา
  • อัตราการเจ็บป่วยเนื่องจากโรคที่เกิดจากการทำงาน เท่ากับศูนย์
  • จำนวนชั่วโมงทำงานที่ไม่มีอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงาน 22,979,705 ชั่วโมง   เพิ่มขึ้น 741,950 ชั่วโมง หรือเพิ่มขึ้น 3.34 % เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่ผ่านมาไม่มีเหตุฉุกเฉินระดับที่ 3

 

 

  • ทบทวนความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยให้กับพนักงานและผู้รับเหมาที่ทำงานอยู่ในบริษัทเพื่อให้เกิดความตระหนักในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและโรคจากการทำงาน
  • ปฏิบัติตามกฎหมายด้านความปลอดภัยและข้อกำหนดของมาตรฐานระบบความปลอดภัยอาชีวอนามัย ISO45001:2018 อย่างเคร่งครัด

 


การส่งเสริมและดูแลสุขภาพของพนักงาน

เนื่องจากพนักงานคือหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ  ดังนั้น  การดูแลสุขภาพของพนักงานจึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก ที่ช่วยให้ธุรกิจดำเนินต่อไปข้างหน้าได้   เรื่องสุขภาพพนักงานจึงเป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้  ดังนั้น  บริษัท จึงมีการดำเนินโครงการต่างๆ  เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพพนักงาน  ได้แก่  โครงการตรวจสุขภาพประจำปีให้กับพนักงานทุกคน   พนักงานที่ต้องทำงานในที่เสี่ยงอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพ เช่น งานประเภทต้องสัมผัสกับสารเคมี  จะได้รับการตรวจเฉพาะด้าน ,  การมีห้องพยาบาล และพยาบาลประจำโรงงาน ไว้ดูแลสุขภาพอนามัยพนักงาน,   โครงการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เหมาะสม   มีวัฒนธรรมการทำงานที่ “Healthy” ,  โครงการดูแลสุขภาพพนักงานในเชิงป้องกัน ก็จะช่วยลดโอกาสเกิดการเจ็บป่วย  โดยจัดฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่  วัคซีนป้องกันโควิด  วัคซีนป้องกันบาดทะยัก วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี  และวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ, การจัดสวัสดิการรักษาพยาบาลทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน  โดยบริษัท ประกันสุขภาพ  ซึ่งโครงการเหล่านี้จะช่วยลดการลาหยุดงานและอัตราการลาออก  เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานหรือ Productivity  เป็นองค์กรที่มีความสุข  เมื่อพนักงานสุขภาพดีย่อมส่งผลดีต่อภาพรวมของบริษัท เพราะสุดท้ายแล้วการทำงานอย่างไร้ข้อจำกัดด้านสุขภาพของทุกหน่วยในองค์กร ย่อมช่วยให้พนักงานและบริษัท เอง ประสบความสำเร็จไปด้วยกันในระยะยาว


โครงสร้างการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

บริษัท ได้มีการตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพของบริษัท ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ISO 45001:2018)  และกฎหมายด้านความปลอดภัย โดยมีเป้าหมายไม่มีอุบัติเหตุจากการทำงานถึงขั้นเสียชีวิต และไม่มีการเจ็บป่วยหรือโรคจากการทำงาน

 

 

 

 

 

การอบรมพนักงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย(403-5)

            บริษัท ได้กำหนดหลักสูตรการฝึกอบรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เพื่อป้องกันและระงับอัคคีภัยที่จำเป็นสำหรับพนักงานและผู้รับเหมาที่เหมาะสมกับตำแหน่งงาน ประเภทของงานที่ต้องปฏิบัติ หรือกิจกรรมที่มีความเสี่ยง โดยพัฒนาความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจในสิ่งที่อาจเป็นอันตราย และก่อให้เกิดอุบัติเหตุ วิธีการป้องกัน และควบคุมอันตรายในขณะปฏิบัติงาน เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้ด้วยความปลอดภัย และลดความรุนแรงของผลกระทบต่อบุคคล และทรัพย์สิน โดยให้แต่ละหน่วยงานมีความในการรับมือกับเหตุฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดหลักสูตรให้มีการประเมินผล บันทึก และจัดเก็บประวัติการฝึกอบรม

หัวข้อหลักสูตรอบรม

จำนวนผู้อบรม (คน)

ผู้รับเหมา

พนักงาน

รวม

ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างใหม่

877

258

1,135

โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม

877

258

1,135

การดับเพลิงขั้นต้น

877

258

1,135

ความปลอดภัยในการทำงานขับรถฟอร์คลิฟท์

45

172

217

คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนมัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.)

0

25

25

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับบริหาร

0

23

23

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับ หัวหน้างาน

0

56

56

ทบทวนผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น (อยู่กับที่)

0

293

293

ผู้บังคับปั้นจั่นเคลื่อนที่

0

40

40

การปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น (อยู่กับที่)

0

27

27

การฟื้นคืนชีพเบื้องต้น (CPR) และการใช้งานเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ  

0

21

21

  • โดยมีอัตราความถี่ของการบาดเจ็บ (Injury Frequency Rate: IFR) เท่ากับ 536 รายต่อล้านชั่วโมงการทำงาน ซึ่งลดลง 0.117 เมื่อเทียบกับปี 2565
  • มีจำนวนชั่วโมงทำงานที่ไม่มีอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงาน 22,979,705 ชั่วโมง เพิ่มขึ้น 741,950 ชั่วโมงหรือเพิ่มขึ้น 34% เมื่อเทียบกับปี 2565
  • อัตราการเจ็บป่วยและโรคจากการทำงาน (พนักงานและผู้รับเหมา) เท่ากับ 0 ราย
  • ไม่มีเหตุฉุกเฉินระดับที่ 3


แรงงานที่ครอบคลุมโดยระบบบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยขององค์กร [403-8]

 

 

จำนวน (คน)

ร้อยละ

พนักงาน และลูกจ้างสถานประกอบการที่ถูกควบคุม หรือดูแลโดยองค์กร

พนักงาน

6,851

100

ลูกจ้าง

952

100

พนักงาน และลูกจ้างสถานประกอบการที่ถูกควบคุม หรือดูแลโดยองค์กร (และได้รับการตรวจสอบโดยองค์กร)

พนักงาน

1,985

28.97

ลูกจ้าง

240

25.21

พนักงาน และลูกจ้างสถานประกอบการที่ถูกควบคุม หรือดูแลโดยองค์กร (และได้รับการตรวจสอบโดยองค์กรภายนอก)

พนักงาน

401

5.85

ลูกจ้าง

49

5.14

หมายเหตุ :            พนักงาน หมายถึง บุคลากรของบริษัท ไม่รวมบริษัทย่อย

                ลูกจ้าง หมายถึง บุคลากรของสถานประกอบการอื่นที่ถูกควบคุม หรือ ดูแลโดยบริษัท ภายใต้มาตรฐาน ISO 45001:2018