Banner_Aboutus

คณะกรรมการสรรหา ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565

เลขที่

       ชื่อ – สกุล

        ตำแหน่ง

 

1

นายขันธ์ชัย วิจักขณะ           

ประธานกรรมการและกรรมการอิสระ

2

นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

3

นายประทีป เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

4

ดร.ประมวล เลี่ยวไพรัตน์     

กรรมการ

5

นายประหยัด  เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

6

นางอรพิน  เลี่ยวไพรัตน์       

กรรมการ

7

นายทยุติ  ศรียุกต์สิริ

กรรมการ

8

นางสาวมาลินี เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

9

นายสุพจน์  สิงห์เสน่ห์

ประธานกรรมการตรวจสอบ และกรรมการอิสระ

10

นายพิเศษ  เอี่ยมสกุลรัตน์

กรรมการตรวจสอบ และกรรมการอิสระ

11

นายทวิช  เตชะนาวากุล

กรรมการตรวจสอบ และกรรมการอิสระ

12

นายภากร  เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

13

นายพรพล สุวรรณมาศ

กรรมการตรวจสอบ และกรรมการอิสระ

14

นางสาวธัญญารัตน์ เอี่ยมโสภณา

กรรมการ

15

ดร.วิรัช ฉัตรดรงค์

กรรมการ

         

หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการสรรหา

  1. คัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการใหม่ เมื่อมีตำแหน่งว่างลง (จากการลาออก หรือครบวาระ)เพื่อเสนอคณะกรรมการบริษัท หรือที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อดำเนินการแต่งตั้ง โดยคำนึงถึงองค์ประกอบของคณะกรรมการความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัท อีกทั้งคุณสมบัติของกรรมการที่ต้องการสรรหาต้องให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของบริษัท
  2. พิจารณาเสนอชื่อกรรมการ เพื่อทำหน้าที่กรรมการเฉพาะเรื่อง โดยพิจารณาตามองค์ประกอบของคณะกรรมการเฉพาะเรื่องคุณสมบัติ ความรู้ ความสามารถของกรรมการ ที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติหน้าที่กรรมการเฉพาะเรื่อง และนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อพิจารณาแต่งตั้ง
  3. เปิดเผยรายงานการดำเนินงานของคณะกรรมการสรรหาไว้ในรายงานประจำปี
  4. คณะกรรมการสรรหาควรประชุมร่วมกันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

 

ทั้งนี้ ได้กำหนดวิธีการสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นกรรมการ ดังนี้

 

  1. คณะกรรมการสรรหากำหนดคุณสมบัติของกรรมการที่ต้องการสรรหาทดแทน เพื่อให้มีองค์ประกอบและคุณสมบัติตามกฎหมาย/ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสอดคล้องกับกลยุทธ์และการดำเนินธุรกิจของบริษัท และกำหนดวิธีการเสนอรายชื่อผู้มีคุณสมบัติ ทั้งนี้ คู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี มาตรฐานทางจริยธรรม และจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ ได้ระบุคุณสมบัติของคณะกรรมการไว้ว่า กรรมการแต่ละคนต้องมาจากผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลายสาขาอาชีพที่จำเป็นในการบริหารกิจการของ บริษัท ควรประกอบด้วยผู้ที่มีความรู้ด้านธุรกิจ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านบัญชีและการเงิน รัฐศาสตร์ ความมั่นคง การบริหารความเสี่ยงในวิกฤตต่าง ๆ / งานภาคประชาสังคม วิสาหกิจชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  2. คณะกรรมการสรรหาสรุปผลการสรรหาและเสนอชื่อผู้มีความเหมาะสมที่จะเป็นกรรมการพร้อมเหตุผลประกอบและนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท
  3. คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมตามรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหานำเสนอเพื่อพิจารณาแต่งตั้งเป็นกรรมการหรือเพื่อเสนอรายชื่อต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติแต่งตั้งเป็นกรรมการต่อไป
  4. เลขานุการบริษัทปฏิบัติหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการสรรหา