ผลการดำเนินงานเชิงเศรษฐกิจ
ผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ภาวะการถดถอยทางด้านเศรษฐกิจ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ที่ส่งผลกระทบทั้งในด้านอุปทานและอุปสงค์ที่อยู่อาศัยที่มีการปรับตัวลดลง ต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น ตลอดจนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญต่อสุขภาพและความปลอดภัยในการดำรงชีวิต บริษัทฯ จึงมีการปรับปรุงการดำเนินธุรกิจ ให้มีความยืดหยุ่น พร้อมทั้งปรับตัว พัฒนาองค์กรให้พร้อมรับต่อสถานการณ์ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงสินค้าได้อย่างรวดเร็วและสะดวกมากขึ้น เพื่อสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจ รวมทั้งส่งมอบคุณค่าให้กับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่องและเติบโตไปพร้อมกันได้อย่างยั่งยืน
ผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ (จากงบการเงินรวม)
หน่วย : ล้านบาท
รายได้รวม |
ค่าจ้างและผลประโยชน์พนักงาน |
ภาษีจ่าย |
EBITDA |
กำไรสุทธิ |
เงินปันผลต่อหุ้น |
50,963 |
6,749 |
174.92 |
13,371 |
7,845 |
0.09 |
เป้าหมาย
|
การบริหารจัดการ
|
ผลการดำเนินงาน ที่สำคัญในปี 2565 |
แนวทางสำหรับปรับปรุง การดำเนินงานในอนาคต |
- สร้างศักยภาพในการเติบโต และผลตอบแทนที่ดี ให้แก่องค์กรในระยะยาว และส่งมอบคุณค่าให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดี
|
- ปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี และจรรยาบรรณธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ ตลอดจนส่งเสริมวัฒนธรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี ดูแลรับผิดชอบ ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง และส่งเสริมให้มีการปฏิบัติและดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน สิทธิผู้บริโภค และการใช้แรงงานอย่างเป็นธรรม - มุ่งเน้นการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรม นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ โดยมีทีมงานวิจัยและพัฒนาของกลุ่มทีพีไอโพลีนเอง - มุ่งเน้นการบริหารจัดการองค์กรตามนโยบาย BCG ในทุกขั้นตอนของห่วงโซ่คุณค่า เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มความได้เปรียบในด้านต้นทุนการผลิต - พัฒนาโครงการต่อเนื่องในการนำเชื้อเพลิงขยะมาใช้ทดแทนถ่านหินในโรงปูนซิเมนต์ทั้ง 4 สายการผลิต เพื่อลดต้นทุนการผลิตปูนซิเมนต์ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน - Saving in cement & binders การพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ในการลดการใช้ปูนเม็ด เพิ่มการใช้วัสดุทดแทน ส่งเสริมการใช้ปูนซิเมนต์แบบคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Cement) เช่น พัฒนาปูนซิเมนต์ไฮดรอลิก เพื่อใช้ทดแทนปูนซิเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภท 1 เป็นต้น - Savings in clinker production โดยลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในการเผาปูนเม็ด เพิ่มการใช้เชื้อเพลิงชีวมวล เชื้อเพลิงจากของเสียอุตสาหกรรม หรือขยะชุมชน โดยได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ ปี 2021 และจะแล้วเสร็จในปี 2023 - การใช้ไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดหมุนเวียนอย่างสมบูรณ์ (RE100 – Electricity Energy use Renewable Energy 100%) โดยผลิตไฟฟ้าใช้ภายในกลุ่มทีพีไอ โพลีน ในการผลิตปูนซีเมนต์ และการจัดซื้อ REC (Renewabel Energy Certificate) เพื่อทำให้การผลิตปูนซีเมนต์ใช้พลังงานหมุนเวียนได้เต็ม 100 % - มุ่งให้ความสำคัญกับตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche market) สำหรับผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติก EVA ซึ่งมีอัตรากำไรสูง และเพิ่มกำลังการผลิตกาวน้ำและกาวผง - พัฒนากระบวนการผลิตทั้งวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้าคุณภาพด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ขยายสายผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ด้วยการออกแบบที่แตกต่างอย่างมีคุณค่าในราคาที่แข่งขันได้ พร้อมจัดระบบการขนส่งและส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าได้ตามต้องการและถูกต้อง - ติดตั้งเครื่องจักรในส่วนเตาเผาปูนซิเมนต์ เพื่อลดการใช้ความร้อน(Heat Consumption) ลดค่าซ่อมแซม ส่งผลให้สามารถลดต้นทุนการผลิตปูนซิเมนต์ - เพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ปูนสำเร็จรูป ไฟเบอร์ซีเมนต์ กระเบื้องคอนกรีต และอิฐมวลเบา ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด - ขยายช่องทางการจำหน่ายในร้านค้าปลีกแบบสมัยใหม่ (Modern Trade) ทั้งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และหัวเมืองหลัก รวมถึงเพิ่มช่องทางจำหน่ายในรูปแบบร้านค้าปลีกที่เหมาะกับวิถีปกติใหม่ (New Normal) และช่องทางขายแบบ Online เพื่อให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าได้อย่างสะดวกมากขึ้น - พัฒนาระบบ Logistic จัดส่งสินค้าและบริการให้ถึงลูกค้าอย่างรวดเร็วถูกต้อง และมีมาตรฐานความปลอดภัยในการขนส่งสินค้า มีศูนย์จำหน่ายสินค้าและวัตถุดิบที่กระจายอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญทั่วประเทศ โดยมีเครือข่ายเชื่อมโยงในการบริหารสินค้าคงคลัง มีร้านค้าปลีกรองรับการขายให้กับลูกค้า เพื่อให้เข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้ง่ายขึ้น |
- เป็นผู้ผลิตรายเดียวในประเทศไทยที่สามารถผลิตและจำหน่ายกาวน้ำและกาวผงออกสู่ตลาดภายใต้แบรนด์ Polene® -ในปี 2565 บริษัทยังเป็นผู้ผลิตคอนกรีตผสมเสร็จของไทยรายแรกที่ได้การรับรองผลิตภัณฑ์ Made in Thailand (MiT) โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และประกาศบังคับใช้กับโครงการของรัฐต่อเนื่องมาจากปี 2564 ที่ประกาศใช้ นอกจากนี้ ทีพีไอ คอนกรีต ยังมีนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อใช้ในการพัฒนากระบวนการผลิตและการออกแบบผลิตภัณฑ์คอนกรีต เพื่อให้ได้สินค้าที่หลากหลายอย่างต่อเนื่อง สามารถตอบสนองความต้องการคอนกรีตของลูกค้าเจ้าของโครงการทั้งภาครัฐและเอกชนได้หลากหลายมากขึ้น - พัฒนาคอนกรีตโดยนำเถ้าถ่านหินที่เป็นวัสดุเหลือทิ้งจากโรงไฟฟ้ามาใช้แทนปูนซิเมนต์ได้ 50% และ การใช้ปูนซีเมนต์ไฮโดรลิก ทดแทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ จึงมีการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จสูตรลดโลกร้อน ซึ่งใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิคมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ หรือ คอนกรีตความร้อนต่ำที่ช่วยลดความร้อนสะสมในคอนกรีตโครงสร้างขนาดใหญ่ และเพิ่มความคงทนให้คอนกรีตสามารถทนทานต่อสภาวะแวดล้อมต่างๆได้ดี และยังเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับงานก่อสร้างอาคารเขียวตามมาตรฐาน LEED และ TREES สอดคล้องกับแนวโน้มดังกล่าว - เปลี่ยนธุรกิจโพลิเมอร์ (Polymer) ไปสู่ผลิตภัณฑ์โพลิเมอร์เกรดพิเศษ (Specialty Polymer) เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่มีมูลค่าเพิ่มและอัตรากำไรที่สูงกว่า โดยการพัฒนาประสิทธิภาพเครื่องจักรและเทคโนโลยีการผลิตให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้สามารถผลิต EVA เกรดพิเศษที่มีราคาสูง ในตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) ได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้บริษัทยังคงเดินหน้าปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรอย่างสม่ำเสมอด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีภายในองค์กรและบุคลากรของบริษัทที่มีการสั่งสมประสบการณ์การผลิตมากว่า 40 ปี ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีด้านซอฟต์แวร์การจัดการทรัพยากร (ERP: Enterprise Resources Planning) และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) โดยบริษัทมีแผนเพิ่มอัตราการผลิตโดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากในการซื้อเครื่องจักรใหม่ทั้งหมด และได้นำระบบการจัดการสินทรัพย์ (EAM: Enterprise Asset Management) มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรอย่างเป็นระบบ รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงในการหยุดผลิตอันเนื่องมากจากอุปกรณ์เสียหาย ซึ่งมีส่วนสำคัญที่จะช่วยเพิ่มอัตราการผลิตเม็ดพลาสติกของบริษัทโดยรวมได้อย่างมีนัยสำคัญ
- บริษัทฯ มีรายได้จากการขาย 48,133 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้น 9,213 ล้านบาท ร้อยละ23.67 เนื่องจากรายได้ของธุรกิจปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์สูงขึ้นจากราคาขายของผลิตภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้น - ต้นทุนขายของบริษัทฯ อยู่ที่ 35,277 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้น 8,886 ล้านบาท ร้อยละ 33.67 เนื่องจากราคาวัตถุดิบของธุรกิจปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้น - บริษัทฯ มีกำไรสุทธิจากการดำเนินธุรกิจปกติ (ไม่รวมกำไร (ขาดทุน) จากอัตราแลกเปลี่ยนและภาษีเงินได้นิติบุคคล) 7,573 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้น 507 ล้านบาท ร้อยละ 7.17 จากปี 2564 - ในปี2565 ไม่มีเหตุกรณีถูกฟ้องดำเนินคดี เสียค่าปรับ หรือได้รับโทษอื่น รวมถึงไม่มีกรณีพิพาทที่ต้องดำเนินการผ่านกลไกการระงับข้อพิพาทอันเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบอื่น ๆ ด้านเศรษฐกิจและสังคม
|
- พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ รวมทั้งผลิตสินค้าให้สอดรับกับความต้องการของตลาด ซึ่ง มีแนวโน้มความต้องการในการใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ในประเทศจะขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจัยแวดล้อมจากสถานการณ์โควิด-19 ที่สามารถควบคุมได้ในหลาย พื้นที่ รวมถึงการส่งออกที่คาดว่ามีความต้องการเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งปัจจัยหนุนด้านการลงทุนในการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค ระบบขนส่งมวลชน และระบบโครงข่ายการคมนาคมในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อรองรับการเติบโตของประเทศ และการเข้าสู่ ASEAN Economics Community (AEC)
รวมถึงนโยบายที่เป็นประโยชน์โดยตรงต่อผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ อาทิ นโยบายผ่อนคลายเพดาน LTV (อัตราส่วนสินเชื่อต่อราคาบ้าน) เป็น 100% สำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยใหม่ การรีไฟแนนซ์และสินเชื่อเพิ่มเติม ซึ่งเป็นการกระตุ้นความต้องการซื้อภายในประเทศให้มีการฟื้นตัว - ดำเนินโครงการติดตั้งสายพาน และก่อสร้าง CDE Plant (Site C) เพื่อนำหินคลุกมา Recycle เพื่อเพิ่มรายได้และกำไรให้แก่ธุรกิจปูนซิเมนต์ - บริษัทมีนโยบายปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ ไปสู่โพลีเมอร์ ชนิดพิเศษ (Specialty Polymer) ซึ่งเป็นเม็ดพลาสติกที่มีองค์ประกอบและโครงสร้างทางเคมีที่ซับซ้อนกว่าเดิม โดยการปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตและเครื่องจักรให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีคุณสมบัติที่ดีขึ้น ราคาสูงขึ้น และมีผู้ผลิตจำนวนจำกัดอยู่ในทวีปยุโรปและอเมริกา ทั้งนี้เทคโนโลยีการผลิตเหล่านี้ไม่มีบริษัทใดขายเทคโนโลยีการผลิตได้เหมือนผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีพื้นฐานอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้บริษัทจึงจำเป็นต้องวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ดังกล่าวเอง โดยอาศัย pilot reactor ชนิดพิเศษที่สามารถทำปฏิกิริยาที่ความดันสูงถึง 3,000 bar ที่บริษัทได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จแล้ว เพื่อผลิตตัวอย่างสินค้ามาใช้สำหรับการทดสอบและทดลองตลาดใหม่ ๆ ก่อนที่จะพัฒนานำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้กับสายการผลิตจริงในอนาคต โดยทางบริษัทคาดว่าจะสามารถเริ่มผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดพิเศษประเภทใหม่ได้ ภายในปี 2567
|
ปี 2565 บริษัทฯ มีการกระจายมูลค่าเศรษฐกิจทางตรงไปยังผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ก่อให้เกิดมูลค่าเชิงเศรษฐกิจสะสมจำนวน 10,829 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
มูลค่าเชิงเศรษฐกิจทางตรงที่สร้างขึ้นและที่แจกจ่าย (Direct Economic Value Generated and Distributed) |
ปี 2565 * (ล้านบาท)
|
(1) มูลค่าเชิงเศรษฐกิจทางตรงที่สร้างขึ้น (Direct Economic Value Generated) |
|
รายได้ (Revenues) |
39,902 |
(2) มูลค่าเชิงเศรษฐกิจที่แจกจ่าย (Economic Value Distributed) |
|
ต้นทุนการดำเนินงาน (Operating Costs) |
20,275 |
ค่าจ้างและผลประโยชน์พนักงาน (Employee Wages and Benefits) |
5,210 |
เงินที่ชำระแก่เจ้าของเงินทุน (Payments to Providers of Capital) |
3,569 |
เงินที่ชำระให้แก่รัฐบาล (Payments to Government) |
- |
การลงทุนในชุมชน (Community Investment) |
19 |
รวม |
29,073 |
มูลค่าทางเศรษฐกิจสะสม (1) – (2) (Economic Value Retained) |
10,829 |
หมายเหตุ : * จากงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัท